Tuesday, February 22, 2011

จดหมายร้องเรียนเรื่องคุณพ่อ (#2)

จดหมายร้องเรียนเรื่องคุณพ่อ (#1)


3. เพราะ NR จึงละเลยผู้ป่วยอย่างไม่ใยดี
ในวันที่ 23 ม.ค. 54 ช่วงตอนดึก รอยต่อของวันที่ 24 ม.ค. 54 บิดาของข้าพเจ้า มีภาวะความตันต่ำมาก ๆ หลังจากที่พยาบาลมาวัดด้วยเครื่องและเครื่อง  manual แล้ว ก็เอาใบ NR มาให้ข้าพเจ้าเขียนและลงนาม ใจความสำคัญคือข้าพเจ้าต้องการให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบในกรณีที่เกิดภาวะหยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นเองจากตัวโรคเท่านั้น หลังจากนั้นพยาบาลเอา monitor เข้ามาติดตาม EKG คุณพ่อ และวัด BP ที่ยังคงต่ำอยู่ จากนั้นก็ปล่อยให้พวกเราสามคนพ่อแม่ลูกอยู่กันตามลำพัง จนเช้า โดยที่คืนนั้นไม่มีแพทย์หรือพยาบาลเข้ามาดูคนไข้ หรือแม้แต่การวัดความดันหรือเข้ามาดูคนอีกเลย (ไม่แน่ใจว่าได้ notify แพทย์เวรด้วยหรือไม่) สรุปไม่มีการเข้ามาจัดการกับภาวะความดันต่ำของคนไข้อีกเลยจนกระทั่งรุ่งเช้า (ไม่มีการเข้ามาดูคนไข้เลยตั้งแต่ประมาณตีหนึ่งไปจนถึงรุ่งเช้า)

ในรุ่งเช้าของวันที่ 24 ม.ค. 54 หลังจากแพทย์ได้มาเยี่ยมแล้วได้เรียกญาติไปถามว่าจะให้ทำอะไรกับคนไข้หรือไม่  ก่อนที่ข้าพเจ้าจะทันได้พูดอะไรพยาบาลพูดขึ้นมาว่า “คนไข้ NR ค่ะ” คุณหมอหยุดและพูดต่อว่า “NR ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ช่วยเหลือหรือทำอะไรเลย  NR ก็คือการไม่ช่วยปั้มหัวใจหรือใส่ท่อช่วยหายใจ” ข้าพเจ้าก็เลยรู้สึกตะขิดตะขวงใจขึ้นมาทันทีว่าแล้วเมื่อคืนนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำไมพ่อของข้าพเจ้าจึงได้ถูกปฏิบัติและถูกละเลยเช่นนี้


4. Foley Catheter อีกเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจดูแล
ตอนที่ออกจาก โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ทางแพทย์ Uro ได้บอกว่าให้เปลี่ยน Foley Catheter ทุกสองอาทิตย์ หากขุ่นให้ทำ irrigate ก่อน ซึ่งในช่วงที่พ่อนอนอยู่ที่โรงพยาบาล xxxxxxxxxx ข้าพเจ้าก็คอยมองดูปัสสาวะใน urine bag ของพ่ออยู่เสมอ เมื่อเห็นว่าขุ่นก็ได้ได้แจ้งกับทางพยาบาลว่ามันเริ่มขุ่นแล้วอยากให้ช่วยทำ irrigation แต่ก็ได้รับคำตอบว่า irrigate ต้องใช้ Foley catheter แบบสามหางและที่ตึกไม่มี stock (อยู่ที่เจริญกรุงเค้า irrigate โดย apply syringe เข้ากับ Foley catheter แบบสองหางที่ใส่อยู่เดิม เพื่อล้างเอาเนื้อเยื่อต่าง ๆ ใน กระเพาะปัสสาวะออกมา (ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่อยากพูดหรือเถียงอะไรในจุดนี้ เพราะจะทำให้กลายเป็นรู้มากจ้องจับผิด) 

วันที่ 25 มกราคม 2554 พ่อเริ่มมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยเวลามีปัสสาวะเต็มในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อเบ่งพบว่ามีปัสสาวะซึมตรงบริเวณ Tip of Penis ในการรายงานครั้งแรกนั้นพยาบาลได้รับทราบและได้เอา syringe มา blow น้ำเข้าไปใน balloon หลังจากนั้นในช่วงเย็น คุณพ่อถ่ายหนักและมีอาการปวดบริเวณหัวเหน่าเนื่องจากเบ่งถ่ายและมีปัสสาวะซึมครั้งนี้พยาบาลเดินเข้ามาในห้องพอดีจึงเรียกดู เมื่อเห็นกับตาหลังจากนั้นไม่นานพยาบาลได้มาใส่เปลี่ยนใส่ 16Fr Foley Catherter แบบสามหางให้ พร้อมทำ irrigation แบบต่อเนื่อง หลังจากนั้นอาการปวดขัดลดลงไปบ้างปัสสาวะใสขึ้น

26 มกราคม 2554 ตอนเช้าขณะ bed bath พบว่า ที่ tip of penis ตรงตำแหน่งปลายเปิดที่มี foley catheter อยู่ มีลักษณะเหมือนเนยแข็งสีเหลือง ๆ อยู่จึงได้เอามือรูดตามความยาวของลำอวัยวะเพศพบว่ามีของเหลวลักษณะสีเหลืองเหมือนเนยแข็งไหลออกมาในปริมาณไม่มาก ได้แจ้งพยาบาลและแพทย์ที่มาดูคนไข้ในวันนั้นไป
ข้าพเจ้าได้ถามเพื่อนที่เป็นพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการดูแลคนไข้ที่ retain catheter เพื่อนบอกว่าในกรณีที่ต้อง retain catheter นาน ๆ ควรจะทำความสะอาดบริเวณนี้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ สองครั้งเช้าเย็น ซึ่งตั้งแต่ admit เข้า (18-26 มกราคม 2554)ไม่ได้มีการใส่ใจทำความสะอาดบริเวณนี้นี้เลย มีแค่หลังจากพบว่าเป็นหนองก็จะมีมาทำความสะอาดโดยการเช็ดตัวช่วงล่างให้ในตอนบ่ายซึ่งก็ไม่ได้ทำทุกวัน 

27 มกราคม 2554 ประมาณตีสี่ หลังจากพ่อถ่ายหนักเสร็จพ่อปวดเบ่งฉี่ตลอดเวลา ฉี่ไม่ออก ที่สาย Foley catheter มีรอยคราบเมือกยาวประมาณ 10 cm. เหมือนสายเลื่อน ข้าพเจ้าบอกกับคุณแม่ว่าสายอาจจะหลุดให้เรียกพยาบาลมาดู คุณแม่จึง กด call ไปที่พยาบาลและแจ้งว่าคุณลุงปวดฉี่มากจนสั่นแต่ฉี่ไม่ออกและเหมือนสายสวนเลื่อนออกมา เวลาผ่านไปพอสมควรพยาบาลก็ยังไม่มา ข้าพเจ้าจึงขอตัวคุณแม่ไปนอนก่อน สักพักพี่พยาบาลวิชาชีพชื่อ xxxxxxxxxx เข้ามา (แม่เล่าว่ามาพร้อมถือ syringe เข้ามาด้วย) มายืนดูที่ปลายเท้าคุณพ่อ ใช้มือจับตรงบริเวณที่ Stab กับต้นขาว่าไม่หลุดไม่เลื่อน แต่ไม่ได้ทดสอบสาย Foley catheter ว่าบอลลูนว่ายังพองหรือไม่ มีน้ำเท่าใด อยู่ในกระเพาะปัสสาวะดีหรือไม่ (ตรงนี้คุณแม่ยืนดูอยู่กับพยาบาลที่ปลายเตียง) และพยาบาลแจ้งกับคุณแม่ว่าสายไม่หลุดหรอก ลุงมีปัญหาเรื่อง ต่อมลูกหมากโต ก็ปวดแบบนี้แหละเดี๋ยวตอนเช้าจะมาทำความสะอาดให้ หลังจากนั้นพ่อก็ค่อย ๆ คลายปวดลง

ตอนเช้าในช่วงที่พวกเราจะเช็ดตัวให้คุณพวกเราพบว่าสาย Foley catheter หลุดออกมาจากตัวคุณพ่อ ในสภาพที่บอลลูนไม่มีน้ำ เป็นไปได้ว่าอาจจะแตก เลยทำให้สายเลื่อนหลุดออกมา แต่ถ้าหากมีการตรวจสอบ Foley Catherter ตั้งแต่เมื่อคืน ว่าน้ำที่ใส่ใน balloon มีเท่าไหร่ ตำแหน่งเป็นอย่างไร ก็คงจะไม่เกิดเรื่องเช่นนี้  เรื่องแบบนี้เกิดจาการละเลย ไม่ใส่ในในงานดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นวิชาชีพของตนเอง

ภาพสาย Foley catheter ที่หลุดออกมา ที่ปลายสายไม่มีน้ำใน balloon

ข้าพเจ้าได้ปรึกษากับเพื่อนที่เป็นแพทย์เพื่อนบอกว่าการที่มีปัสสาวะซึมออกมาจากปลายอวัยวะเพศขณะที่มีสายสวนคาอยู่นั้นเกิดได้จากภาวะ Bladder Neck Spasm ทำให้ balloon ไม่กระชับ แล้วทำให้ปัสสาวะซึมออกมาได้ วิธีแก้คือการลดขนาดสายลง หรือลด ปริมาณน้ำใน balloon ลง

ซึ่งตอนที่หมอมาดูคนไข้เช้า ก็ได้คุยกันในเรื่องใส่สายสวนปัสสาวะใหม่ ตอนแรกคุณหมอและพยาบาลมีแนวโน้มจะใส่เบอร์ใหญ่ ข้าพเจ้าก็พยายามที่จะขอเบอร์เดิม (16Fr) ดูเหมือนคุณหมอจะตกลงแล้วด้วยว่าจะเอาเบอร์เดิม และ เรื่อง NG tube ว่าถ้ามื้อเย็นยังทานไม่ได้จะให้ใส่สาย หลังจากนั้นไม่นานพยาบาลวิชาชีพ XXXXXXXX เตรียม set Foley Catheter และ NG มา ข้าพเจ้าก็ทักท้วงเรื่อง NG tube ว่าคุยกับคุณหมอตกลงว่าต้องดูคนไข้ก่อนว่ากินมื้อเย็นได้ไหมนี่ยังไม่ได้ให้ใส่ตอนนี้สักหน่อย ส่วนเรื่อง Foley Catheter ก็ถามว่าจะใส่เบอร์ไหน พยาบาลตอบว่าใส่เบอร์ใหญ่ ขึ้น (18Fr) ข้าพเจ้าก็เลยท้วง ว่าก็คุยกับหมอแล้วไม่ใช่หรือว่าจะเอาเบอร์เดิม แล้วก็เล่าเรื่ององค์ความรู้ที่ได้รับมาจากเพื่อนแพทย์ ว่าต้องแก้ไขอย่างไร แต่เธอก็ไม่ได้ฟังและบอกว่าแพทย์เป็นคนสั่งเบอร์ใหญ่  หากมีปัญหาอะไรก็จะ consult แพทย์ศัลยกรรมระบบปัสสาวะให้ ข้าพเจ้าเลยได้แต่เงียบไม่สามารถเถียงสู้เค้าได้เพราะเค้าได้รับมอบหมายจากหมอ และ ในขณะใส่นั้นคุณแม่อยู่เป็นเพื่อคุณพ่อด้านใน คุณแม่เล่าว่าเช็ดทำความสะอาดก่อนใส่สายได้รุนแรงไม่มีความอ่อนโยนเลย แต่แม่ก็ไม่ได้พูดอะไรกับพยาบาลในจุดนี้ และในการใส่สายนั้นพยาบาลไม่ยอมบอกพ่อเองว่าจะมาทำอะไร แต่กลับให้คุณแม่ของข้าพเจ้าเป็นคนบอก ว่าตอนนี้ใครจะทำอะไร ซึ่งพ่อรู้ตัวตลอดเวลา ซึ่งสามารถบอกพ่อได้เองเลยว่าจะทำอะไร

ข้าพเจ้ามาทราบทีหลังจากพี่ ๆ พยาบาลที่ทำงานที่นี่ว่าที่โรงพยาบาลแห่งนี้เคยมีการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยที่ใส่ catheter นาน ๆ รวมไปถึงการแก้ไขภาวะปัสสาวะซึมดังกล่าวมาแล้ว ส่วนตัวแล้วข้าพเจ้าคิดว่าถ้าหากเรามีความเป็นมืออาชีพในงานของตนเอง มีใจเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจแล้ว คงไม่เกิดภาพที่ไม่ดีแบบนี้ และการเสียความรู้สึกและขาดความเชื่อมั่นจากญาติผู้ป่วยเช่นนี้

No comments:

Post a Comment