Sunday, April 3, 2011

เคี้ยวละเอียด ฝึกจิต บำรุงกาย

การเคี้ยวละเอียด ฝึกจิต บำรุงกาย
สาวสวยเคียวผักโอ้วใจละลาย
ภาพจากอินเตอร์เน็ต
ด้วยอาหารเป็นปัจจัยสี่ ที่ยังไงก็ต้องกิน และเราก็กินมาแล้วไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี (หลังจากอ่านบทความนี้เสร็จยังไงท่านก็ต้องกิน)

ในแง่โภชนาการแล้วอาหารที่กินเข้าไปนั้นจะเริ่มย่อยตั้งแต่ในปาก กระเพราะ ลำไส้ ซึ่งสุดท้ายแล้วเราจะได้สารอาหารที่มีขนาดโมเลกุลเล็ก ๆ ที่ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้เลย เราเอาสารอาหารเหล่านี้ไปช่วยในกระบวนการเติบโต ในระบบภูมิคุ้มกัน เอาไปซ่อมแซมระบบเล็กระบบใหญ่ของร่างกาย เอาไปเป็นสารตั้วต้นผลิตฮอร์โมน เอาไปเป็นสารสำหรับทำงานร่วมกับเอนไซม์ เยอะแยะมากมาย สารอาหารบางอย่างยังมีผลช่วยเกี่ยวกับการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งเชื่อมีงานวิจัยว่าช่วยชะลอหรือยับยั้งการเกิดมะเร็งได้ด้วย ที่พิมพ์มาทั้งหมดแค่อยากจะบอกว่าอาหารสำคัญจริง ๆ 


เราส่วนมากรู้เรื่องเหล่านี้แล้วเกือบทั้งนั้น แต่เราเคยใส่ใจวิธีกินอาหารหรือไหมว่าเรากินอย่างไร "การเคี้ยว"  เป็นขั้นตอนแรกของการกินเลยก็ว่าได้ (ขอข้ามการดู การดมการชื่นชมไปนะ อิอิ) และเป็นขั้นตอนซึ่งคนส่วนมาก ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าไหร่นัก สังเกตดูก็ได้วันนี้ท่านเคี้ยวกี่ครั้งก่อนกลืนอาหาร ตอนเคี้ยวท่านรู้ตัวไหมว่าเคี้ยวอะไรอยู่ ข้าว เนื้อ ปลา ผัก ????  แล้วมันจะได้ประโยชน์อะไรกับจากสิ่งเหล่านี้ 

การเคี้ยวนั้นหากเราเคี้ยวละเอียดจริง ๆ แล้วท่านเชื่อหรือไม่ว่า
  1. ทำให้ท่านกินข้าวอร่อยขึ้น เพราะท่านจะได้ลิ้มรสของอาหารนานขึ้น ข้าวจะหวานมากขึ้นจาก amylase enzyme ที่อยู่ในน้ำลาย
  2. อาหารที่ละเอียดจะทำให้กระเพาะและลำไส้ของท่านทำงานเบาลง ท่านก็จะย่อยได้ดีขึ้นเอาสารอาหารไปให้ร่างกายใช้ได้มากขึ้น (อาหารบางอย่างย่อยยากเช่น เนื้อสัตว์ ท่านก็ต้องออกแรงเคี้ยวกันนานหน่อยแหละครับ)
  3. การเคี้ยวละเอียดเคี้ยวนานช่วยลดน้ำหนักทากอ้อมได้ เพราะการเคี้ยวนาน ๆ จะเป็นการกระตุ้นให้สมองรับรู้ความอิ่มเร็วขึ้น (จริง ๆ นะ ลองดูสิ ไม่เสียตังค์ด้วย 55)
  4. ช่วยฝึกการรู้ตัว งงละสิว่ามันช่วยยังไง ทุกวันนี้กินข้าวก็รู้ตัวอยู่แล้วนี่ ใช่แค่รู้ว่าตัวแต่ไม่ได้รู้ว่ากำลังกินกำลังเคี้ยงไง เหมือนที่ท่านอ่านมาถึงตอนนี้ท่านก็ลืมการหายใจทั้ง ๆ ที่ท่านหายใจอยู่ไงครับ ....
การเคี้ยวกับการรู้ตัว
ทำไมเราต้องรู้ตัวด้วย  เพราะการรู้ตัวเมื่อฝึก ๆ ไป เราจะทันความคิดตัวเอง ทันอารมณ์ตัวเอง คือมองเห็นตัวเองง่ายขึ้นไวขึ้น และควบคุมได้ทันการก่อนที่จะแสดงอะไรออกไป 

การฝึกก็แสนง่าย
  1. เอาข้าวใส่ปากก็รู้ว่าเอาข้าวใส่ปาก แค่รู้ก็พอไม่ต้องไปจด ๆ จ้อง ๆ นะ เคี้ยวก็รู้ว่าเคี้ยว อาจจะนับก็ได้ 30-50 ครั้งต่อช้อน ขึ้นกับชนิดอาหาร หรือเวลาที่ท่านมี
  2. เคียวอะไรอยู่ อืม....ข้าวนะมันเป็นอย่างนี้ เนื้อนะรสสัมผัสอย่างนี้ รสชาด แบบนี้  ผักนะโอ้วผักคะน้ามันเป็นแบบนี้ กรอบแฮะ อร่อยแฮะ อืม ๆ ๆ ๆๆ
ง่ายไหมครับ ผมว่ามันง่ายมากเลยนะครับ อิอิ

อุปสรรคที่ทำให้เคี้ยวได้ไม่ละเอียด
  1. อาหารมันร้อน เห่อ ๆ (เป่าสิครับ)
  2. อาหารมันเผ็ด พูดยากแฮะ ความชอบใครความชอบมัน
  3. เวลาไม่มี ปัญหาโลกแตก จะรีบไปไหนกันน่อ ดุแลตัวเองบ้าง
  4. กินข้าวคำใหญ่ ทดลองมาแล้ว มันเคี้ยวยากจริง เลยต้องกลืนไปบ้างไม่งั้นเคี้ยวไม่ได้ ก็ตักคำเล็กครับ
  5. มันอร่อยมาก อาจจะดูเป็นเรื่องตลกแต่มันก็เป็นเรื่องจริงนะ เพราะ ความอร่อยมันจะทำให้กินเร็วขึ้นตักเร็วขึ้น
 ก็ชีวิตใครชีวิตมันครับ ใครมีเวลาก็ลองฝึกดูครับ แต่แค่อยากบอกว่ามันช่วยได้จริงนะครับ ชีวิตที่เหลือของทุกคนยังไงก็หนีไม่พ้นการเคี้ยวหรือการหายใจหรอกครับ ลองเอาไปฝึกสักสามถึงห้าวันดูนะครับ 

สวัสดี......

(ข่างล่างนี้เอามาอินเตอร์เน็ตนี่แหละครับลองอ่านดูแบบวิชาการดูบ้าง..)


ข้างล่างนี้คือผลที่ได้จากการทดลอง จำนวนครั้ง ที่เคี้ยวอาหารแต่ละคำ

เคี้ยวอย่างน้อย 30 ที จะช่วยให้เหงือกฟันแข็งแรง และช่วยรักษาอาการขี้หงุดหงิด

เคี้ยวอย่างน้อย 50 ที จะช่วยลดอาการกลัดกลุ้ม ใจร้อนเจ้าอารมณ์ จะช่วยให้ลืมเรื่องเครียด และยังจะช่วยลดความอ้วนอีกด้วย 

เคี้ยวอย่างน้อย 60 ที ซึ่งเหมาะกับการกินอาหารที่มีกากใยมากๆหรือย่อยสลายยาก จะช่วยลดอาการท้องผูก กระตุ้นสมรรถนะของสมอง ช่วยทำให้สมองใหญ่คิดอะไรได้โลดแล่น และมีความจำดี

เคี้ยวอย่างน้อย 80 ที จะช่วยให้ประสาทสัมผัสไวยิ่งขึ้น ต่อไปจะสามารถจำแนกรสชาติและสารปรุงอาหารที่มีพิษในอาหารได้อย่างรวดเร็ว 

เคี้ยวอย่างน้อย 100 ที จะช่วยทำให้ใจคอหนักแน่น สามารถวินิจฉัยจัดการปัญหาได้อย่างสงบเยือกเย็น กินน้อยแต่ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้มาก กระเพาะอาหารและลำไส้มีสมรรถนะสูงขึ้น ช่วยให้หายจากโรคเรื้อรังบางอย่างโดยไม่ต้องพึ่งยา และยังจะช่วยลดความอยากอาหารประเภทเนื้อได้ด้วย

ผู้เป็นมารดาหากเอาแต่ป้อนอาหารที่อ่อนเหลวแก่ลูกน้อย ลูกน้อยก็จะโตขึ้นโดยติดนิสัยที่ชอบกลืนอาหารโดยไม่ต้องเคี้ยว และไม่มีทางได้สัมผัสความรู้สึกอิ่มในการกินอาหาร แล้วท้ายที่สุด ก็จะติดนิสัยความเคยชิน ชอบกินอาหารจำนวนมากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุให้อ้วนมากนั่นเอง 

การเคี้ยวอาหารที่ไม่ถูกหลัก จึงไม่เพียงแต่จะมีผลต่อสภาพฟันที่ไม่แข็งแรงแล้ว แม้แต่สมอง อวัยวะภายใน สุขภาพของร่างกาย ความฉลาด สมาธิ อารมณ์ และความจำก็จะพลอยได้รับผลกระทบตามไปด้วย 

“การเคี้ยวอาหารน้อยครั้งต่อคำ จะทำให้อ้วน เกิดโรคภัยโดยไม่จำเป็น ทำลายสมาธิ และเป็นคนไม่ฉลาด”

No comments:

Post a Comment